ดูเสมือนว่าทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างจริงจัง
ส่วนที่ยังมีความเห็นแตกต่างกันคือ
1. ฝ่ายรัฐบาลมองว่าเลื่อนการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะไม่มีมาตราใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจเลื่อนการเลือกตั้ง บางคนพยายามอ้างถึงปี 2006 แต่ในกรณีนั้นศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ (ทางเทคนิคเพราะจัดคูหาหันหลังออก) ผมเห็นด้วยว่ารัฐบาลไม่ควรจะเลื่อนวันเลือกตั้ง เพราะจะทำให้ถูกใช้เป็นข้ออ้างเลื่อนการเลือกตั้งในอนาคตเพื่อประโยชน์กับ ตัวเอง
2. หลายฝ่ายในกรุงเทพ อยากให้เลื่อนเลือกตั้งไปก่อน เพราะมีปัญหาความขัดแย้ง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์รุนแรง แต่ก็ไม่ทราบว่าจะต้องเลื่อนไปนานเท่าไหร่ และมีการเสนอแกมบังคับให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ลาออกและให้กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง มารักษาการแทน (คงจะเป็น คงดีที่ เป็นกลางซึ่งน่าจะหายากขึ้นทุกวัน) เพื่อปฏิรูปการเมืองโดยบอกว่าจะใช้เวลาไม่นาน และไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะปฏิรูปในรายละเอียดอย่างไร
3. คุณสุเทพนั้นต้องการล้มรัฐบาลและตั้งสภาประชาชนกับนายกคนดีมาบริหารประเทศ และปฏิรูปการเมือง โดยมีข้อเสนอบางประการ เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าฯทุกจังหวัด ล้มระบอบทักษิณ ยึดทรัพย์ ครม. ยิ่งลักษณ์ การแก้กฎหมายให้ความผิดด้านคอร์รัปชันไม่มีอายุความและการจ่ายเงินให้กับ ชาวนาที่ร่วมโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลที่ค้างจ่าย
4. คนเสื้อแดงมองว่าหากมีการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็เท่ากับทำ ปฏิวัติรัฐประหาร จึงได้มีการเตรียมการต่อต้านการกระทำดังกล่าว รวมถึงการเสนอให้ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นด้วย
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เห็นถึง ข้อมูลที่นักลงทุนจะต้องนำไปประเมินในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน ทั้งนี้ ยังไม่รวมความเสี่ยงจากเหตุการณ์รุนแรงอันอาจจะเป็นเงื่อนไขทำให้ทหารต้อง เข้ามาแทรกแซงเพื่อรักษาความสงบ แม้ว่า ผบ.ทบ. จะปฏิเสธโดยตลอด แต่ก็ยังมีข้อมูลบางประการ เช่น การที่ไม่ขนรถหุ้มเกราะรุ่น BTR-3EI หนึ่งคันกลับต้นสังกัดหลังการสวนสนามเสร็จสิ้น โดยอ้างว่าต้องใช้เพื่อการฝึกซ้อมในกรุงเทพฯ เป็นต้น
สำหรับการลงทุนโดยตรงในภาคธุรกิจนั้น ประเมินผลกระทบได้ง่ายคือคงจะมีการชะลอการลงทุนเกือบทั้งหมด นอกจากนั้นการรอการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการลงทุนของคณะกรรมการส่ง เสริมการลงทุนซึ่งหมดอายุไป ทำให้เชื่อได้ว่าการลงทุนของภาคเอกชนคงจะเกิดขึ้นน้อยมากในช่วงที่การเมือง มีความเสี่ยงสูงเช่นปัจจุบัน
ในส่วนของตลาดหุ้นนั้นอาจมีข้อจำกัดอีกหลายมิติที่ทำให้ราคาหุ้นผันผวน แต่โดยรวมแล้วความไม่แน่นอนคงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณซื้อ-ขายหุ้นลด ลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะทิศทางการเมืองของไทยนั้นน่าจะพลิกผันได้ง่ายทำให้ประเมินแนวโน้มและจุดจบของวิกฤติการเมืองครั้งนี้ได้ยาก แต่เข้าใจว่าคงจะมีความเห็นแบ่งออกเป็น 3 ทางหลักๆ คือ
1. การเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นในวันที่ 2 ก.พ. และแม้ว่าจะประสบปัญหาใน 8-9 จังหวัดภาคใต้แต่ก็สามารถจัดการเลือกตั้งได้สำเร็จ อย่างไรก็ดี การจัดตั้งรัฐบาลจะล่าช้าไปจนประมาณกลางปีและเป็นรัฐบาลที่จะต้องมุ่งเน้น การปฏิรูปการเมืองและคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ภายใน 1 ปี นอกจากนี้จะถูกกดดันโดยคนกรุงเทพฯและไม่สามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจใดๆ ได้เลย ผลคือเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่ำที่ 3% แต่ก็เป็นทางออกที่กระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพของประเทศในระยะยาวน้อยที่สุด ทำให้ไม่ต้องเพิ่มหรือลดการลงทุนในประเทศไทย
2. รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องหลุดออกจากอำนาจไม่ว่าจะโดยม็อบของคุณสุเทพหรือโดยการ ตัดสินขององค์กรอิสระหรือการแทรกแซงโดยทหาร เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้งแล้วตั้งแต่ปี 2006 และจะมีกลุ่มใหม่เข้ามาปกครองประเทศแทน โดยจะสามารถนำความสงบและเสถียรภาพกลับคืนมาได้ ทั้งนี้ เพราะแรงต่อต้านจากเสื้อแดงจะน้อยลงจากการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมา เข่งและคนต่างจังหวัดก็เบื่อหน่ายกับการเผชิญหน้าทางการเมือง ผู้ที่เชื่อแบบนี้น่าจะเข้ามาซื้อหุ้นเมื่อราคาอ่อนตัว เพราะเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากปัญหาที่เกิดขึ้น ในปี 2006 2008 2009 และ 2010 ซึ่งจะจัดการได้อย่างเบ็ดเสร็จรวดเร็วและเสถียรภาพกลับคืนมาได้สัก 2-3 ปี ทำให้ราคาหุ้นสามารถปรับตัวขึ้นได้
3. มีการโค่นล้มรัฐบาลที่ชนะเสียงข้างมาก ทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่พอใจที่ถูกคนส่วนน้อยกดดัน และไม่เห็นด้วยกับการมีรัฐบาลแต่งตั้ง ซึ่งจะมีคำถามเกี่ยวกับความชอบธรรม และอำนาจตัดสินและ/หรือดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองของรัฐบาลแต่งตั้ง (เช่นจะจ่ายเงินค้างโครงการจำนำข้าวได้หรือไม่และจะปิดโครงการหรือดำเนินต่อ ไป) รวมทั้งปัญหาว่าจะมีการถ่วงดุลอำนาจรัฐบาลอย่างไร จะอภิปรายไม่ไว้วางใจได้หรือไม่หรือจะให้ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ และหากการปฏิรูปที่จัดทำโดยรัฐบาลดังกล่าวไม่เป็นที่พอใจของประชาชนจะถูกขู่เช่นเดียวกับปี 2007 ว่ารัฐบาลจะมีสิทธิเลือกรัฐธรรมนูญในอดีตฉบับใดมาใช้ก็ได้หรือไม่ ในกรณีนี้การเมืองไทยน่าจะยิ่งเผชิญหน้ากันรุนแรงมากขึ้นและเมื่อรัฐบาลมี ปัญหาปกครองประเทศไม่ได้ (เช่นตอนม็อบยึดสนามบิน) ราคาหุ้นไทยก็จะตกลงไปที่ค่าพีอีต่ำกว่าพีอีของประเทศเพื่อนบ้านประมาณ 20%

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้